และภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมภาคประชาชนที่รวมกลุ่มกันอยู่แล้ว เช่น กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่ม SMEs เป็นต้น ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด ซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ด้วย การจัดแสดงสินค้า (ออก Booth) ก่อให้เกิดรายได้กับกลุ่ม เป็นอย่างดีมาโดยตลอด
ผู้ประกอบการรายเล็กในชื่อสมาพันธ์ SMEs เมื่อปี 2560
โดยมีคุณสุทธิสินธุ์ อัครพลโชติ เป็นประธานของสมาพันธ์ SMEs นครราชสีมา เปรียบเสมือน ปลายน้ำ ภาครัฐได้มีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้รวมตัวเพื่อเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่วัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือที่เรียกว่า ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หรือที่เรียกกันว่า CLUSTER คลัสเตอร์ ทำให้ผู้ประกอบการรวมกลุ่มเพื่อผลิตหรือซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก ทำให้ราคาต้นทุนถูกลง รวมกันขายในราคายุติธรรม ต้นทุนการบริหารจัดการต่ำลง จากนั้นได้แยกกลุ่มย่อยเพื่อทำเกษตรแปรรูปในชื่อว่า Korat organic cluster และได้รับงบประมาณส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 6 จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในรูปแบบของกลุ่ม คลัสเตอร์ โดยส่งผ่านงบประมาณไปยังบริษัทต่างๆ เพื่อรับไปบริหาร อบรมพัฒนาผู้ประกอบการเป็นระยะเวลาเวลา 5 ปีเพื่อพัฒนา ผู้ประกอบการ
ประธานคนแรก ในชื่อ Korat organic cluster คือนายธีรวัฒน์ พจน์ฉิมพลี ปีพุทธศักราช 2561–2562 ซึ่งงบประมาณส่วนใหญ่ จะใช้พัฒนาผู้ประกอบการ การจัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ พัฒนาด้านคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาดเพื่อการจัดแสดงสินค้า
ภาครัฐบาลได้เปลี่ยนการส่งเสริมผู้ประกอบการในรูปแบบของออนไลน์โดยตรง โดยเน้นการเข้าใจการทำเพจของ face book และการไลฟ์สดและได้ทดสอบการตลาดออฟไลน์โดยเพียงมีการจัดแสดงสินค้าที่ร้านขายของฝากเท่านั้น
ปี 2564 นายสุบิน พันเลิศจำนรรจ์ ได้รับเลือกเป็นประธานของกลุ่ม Korat organic cluster จึงเกิดแนวความคิดที่จะสร้างการตลาดที่ยั่งยืน
โดยดูจากปัญหาของผู้ประกอบการระดับ OTOP หรือ SMEs โดยได้เล็งเห็นว่าการราชการและให้การช่วยเหลือในความรู้การพัฒนาแพคเก็จจิง (paging) การสร้างมูลค่าของสินค้า อีกทั้งได้มีการฝึกอบรมและสอนการตลาดออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย กระทั่งทำให้ผู้ประกอบการเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มี face book มีเพจเพื่อขายสินค้าของตัวเองเป็นอย่างดี แต่สิงที่เป็นอุปสรรค ก็คือการแข่งขันที่สูงขึ้น ค่าโฆษณาที่สูงขึ้น และ การปรับเปลี่ยน Policy ในการแสดงผล ของ Platform ต่างๆที่ปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งสิ่งที่ปรากฏขึ้นการใช้ social media ในเรื่องของเพจและ face book ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงมีการค้าขายกันทาง face book ซึ่งบางครั้งก็ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ บางครั้งถึงขั้นหลอกลวงทำให้ภาพพจน์เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่มีความยั่งยืนและมีความเป็นจริงมาหลายสิบปี เรากลับมามองถึงเรื่องของการทำเว็บไซต์ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ ทุกบริษัทที่มีความมั่นคงทั้งในประเทศและต่างประเทศจะต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเพื่อยืนยันถึงสถานภาพของบริษัทที่น่าเชื่อถือ
นายสุบิน พันเลิศจำนรรจ์ เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญจึงได้เสนอแนวทางออกเป็น 2 ทางต่อบริษัทที่ปรึกษาที่ได้รับงบประมาณจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 6 ดังนี้
ข้อที่ 1 ขอเปลี่ยนชื่อคำว่า Korat organic cluster เปลี่ยนเป็น “กลุ่มโคราชผลิตภัณฑ์ปลอดภัย” เพื่อให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในกลุ่ม การใช้คำว่า “ผลิตภัณฑ์ออแกนิก” อาจมีปัญหาในเรื่องการหาใบรับรองซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อไปในอนาคต
ข้อที่ 2 ควรจะตั้งเว็บไซต์ของเราเองจึงประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกในกลุ่มเข้าใจจนเป็นที่มาของการจดโดเมนเพื่อทำเว็บไซต์ชื่อ www.kcmart.online
ข้อที่ 3 สร้าง Facebook Fanpage ในชื่อ KCmart Online เพื่อทำ Online Marketing ในเบื้องต้น ในระยะแรก
ดังนั้น คลัสเตอร์โคราชออร์แกนิค จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น “กลุ่มโคราชผลิตภัณฑ์ปลอดภัย” และได้จด Domain name ชื่อ www.kcmart.online โดยมีวัตถุประสงค์วิสัยทัศน์ พันธกิจ ดังต่อไปนี้
พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานคุมครองผู้บริโภค และต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับสู่สากล
พัฒนาทักษะการผลิตสินค้าของสมาชิก เพื่อให้มีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
ส่งเสริมงานด้านการตลาด ให้ผู้ประกอบการรายย่อยให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้ามากขึ้น
พัฒนาสินค้าของสมาชิก ให้เข้าสู่มาตรฐานตามมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค (อย.) หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่จำเพราะในแต่ละพื้นที่จำหน่าย เช่น มาตรฐานฮาลาล
1. จัดทำแผนพัฒนา / แผนปฎิบัติการ
2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
3. นำเสนอแผนปฏิบัติการ เป็นระยะ ต่อกรรมการ
4. จัดทำรายงานเพื่อการพัฒนากลุ่ม /สมาชิก/ที่ปรึกษา / หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
5. ประชุมเพื่อการปรับปรุงดำเนินการ ตอบจุดประสงค์สมาชิก