โภชนาการ หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุน และการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหาร และการย่อยเพื่อให้ร่างกายดูดซึมสารอาหาร การทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่างดังนั้นการได้อาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
ปลา มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ จัดอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและสามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว หรือแผ่นกระดูก
คนที่กำลังลดน้ำหนักหรือไม่อยากเพิ่มไขมันไม่ต้องกังวลใจไป เมนูอาหารจากปลา ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม เนื่องจากมีโปรตีนที่ดีและอุดมด้วยไขมัน เพราะไขมันในปลานั้นน้อยกว่าไขมันจากสัตว์ชนิดอื่น เนื้อปลารสชาติดีและปลาบางชนิดยังมีโอเมก้า-3 (Omega 3) เป็นกรดไขมันมีประโยชน์ช่วยเพิ่มสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด พบได้ในปลาแซลมอน ยิ่งเป็นปลาแซลมอนที่อยู่ตามธรรมชาติจะมีวิตามินและแร่ธาตุสูงมาก ช่วยระบบประสาทของร่างกาย จะทำหน้าที่เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นในการผลิตฮีโมโกลบินในร่างกาย ปลาอีกชนิดที่แนะนำคือปลาซาร์ดีน ช่วยบำรุงผิวหนังเสริมสร้างกระดูก ป้องกันโรคหัวใจ รวมถึงป้องกันมะเร็งบางชนิด ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยควบคุมความดันโลหิต ดังนั้น การหันมากิน เมนูอาหารจากปลา กันเถอะเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ประเทศที่อยู่แถบนอร์เว สกอตแลนด์ และญี่ปุ่น จะให้ความสำคัญกับปลามาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงไปคือ เนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้สึกของคนโดยทั่ว ๆ ไปมักจะให้ความสำคัญของปลารองลงมาจากอาหารพวกเนื้อสัตว์ เนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อไก่
คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจ เมนูอาหารจากปลา กันมากขึ้น เพราะคุณค่าอาหารของปลา ในแง่ของปริมาณไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มีปริมาณสูง แต่มีปริมาณคอเลสเตอรอลต่ำ เราจึงนำปลามาใช้เป็นอาหารที่รักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด นอกจากชนิดและปริมาณของไขมันแล้ว ปลายังนับว่าเป็นอาหารที่มีความเหมาะสมต่อร่างกายของคนเรา เพราะมีโปรตีนและแร่ธาตุในปริมาณสูง ปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน เพราะโปรตีนที่ได้จากปลาจะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน และมีประสิทธิภาพการใช้ของโปรตีนและการใช้ให้เป็นประโยชน์ในร่างกายได้ผลดีรองจากไข่และนม
ปลาอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ๆ วิตามินในเนื้อปลาขึ้นกับปริมาณไขมัน ถ้ามีปริมาณไขมันสูงก็จะมีวิตามินที่ละลายในไขมัน (เอ, ดี, เค) สูงตามไปด้วย วิตามิน เอ และ ดี จะสะสมไว้มากที่ตับและไส้ปลา พบว่าปลาทุกชนิดจะมีวิตามิน บี เช่น ไทอามีน (บี 1), ไรโบฟลาวิน (บี 2) และไนอาซีน ซึ่งวิตามิน บี เหล่านี้มีผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และหัวใจ ส่วนมากเป็นไอโอดีน ต่ำ ถ้ากินแต่เนื้อปลาทะเล มีฟอสฟอรัส และเหล็ก (ต่ำกว่าในเนื้อสัตว์) แต่มีแคลเซียมในปริมาณที่ เพราะแคลเซียม ส่วนมากจะอยู่ที่กระดูกของปลา ส่วนโซเดียมนั้นพบว่ามีต่ำเช่นเดียวกัน (ยกเว้นในปลาฉลาม)
คุณค่าอาหารที่ดีของปลามีมาก โดยเฉพาะโปรตีน จึงได้มีการนำปลามาใช้ในการพัฒนาสุขภาพ โดยมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ฤดูฝนน้ำหลากมามีปลามากจนเหลือ หลังจากกินสด ๆ ยังสามารถถนอมปลาไว้กินเมื่อยามขาดแคลน โดยอาจจะเก็บแบบรมควัน ทำปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า หรือปลากระป๋อง เป็นต้น
การรมควันนั้น ทำให้โปรตีนและไขมันมีค่าสูงขึ้น เพราะมีการระเหยของน้ำออกไป และมีผลเสียเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีผลเลยต่อวิตามินที่ละลายในไขมัน การสูญเสียกรดอะมิโนบางตัว เช่น ไทโลซีน และไลซีน เป็นต้น ส่วนจะสูญเสียมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการรมควัน ส่วนปลากระป๋องจะมีการทำลายวิตามิน เอ และ ดี ไปบ้างบางส่วนถึงแม้จะมีทั้งวิตามินทั้ง 2 ตัวนี้สูงก็ตาม
เนื้อปลายังมีไขมันที่ดีต่อร่างกายประมาณ 1 ถึง 10% ของน้ำหนักปลา สารอาหารหลักๆ ในเนื้อปลานั้นอุดมไปด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ขึ้นอยู่กับชนิดของปลา ในบรรดาไขมันที่ดีต่อร่างกายและพบได้มากในเนื้อปลา คือ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) และกรดไขมันอีพีเอ (EPA) ซึ่งมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย เช่น ป้องกันโรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้หอบหืด บำรุงสมองเส้นประสาทและสายตา รวมถึงการพัฒนาสมองของทารกให้สมบูรณ์
มีข้อจำกัดคือ ไม่ควรบริโภคกรดโอเมก้า-3 มากจนเกินไป เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 มีประโยชน์ช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด สำหรับปริมาณโอเมก้า-3 ที่แนะนำให้บริโภคโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ ควรรับประทาน DHA และ EPA ในปริมาณ 0.3-0.5 กรัมต่อวัน หรือ ควรรับประทานปลาที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
การเลือกรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อ กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ต่ำ (ต่ำกว่า 5) เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า-6 มากจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มมีความกังวลใจเกี่ยวกับการบริโภคปลาน้ำจืดเนื่องจาก ในปลาน้ำจืดบางชนิดมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-6 สูง แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยวิเคราะห์สัดส่วนปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อ กรดไขมันโอเมก้า-3 ในเนื้อปลาน้ำจืด พบว่า มีกรดไขมันโอเมก้า-6 ปริมาณที่ต่ำ (ช่วง 0.5 ถึง 4.5) จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
เนื่องจากปลาแต่ละชนิดจะเติบโตมาด้วยอาหารและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ควรเลือกรับประทานปลาให้หลากหลายชนิด เลือกซื้อปลาจากแหล่งที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ เกษตรกรไทยพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพมากขึ้น สำหรับการประกอบอาหารเมนูปลาควรเลือกวิธีการปรุงสุกที่ใช้ความร้อนไม่สูงมากนัก เช่น การนึ่ง ต้ม ผัด เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 รวมไปถึงสารอาหารต่าง ๆ และวิตามินที่มีประโยชน์จะสลายตัวที่ความร้อนสูงมาก ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่ดีนั้น แนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายอย่างเหมาะสม เพียงพอ และครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
เมนูอาหารจากปลา มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างดียิ่ง สรุปได้ดังนี้คือ
- ปลาทะเลทุกชนิดมีแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต
- ปลามีปริมาณพิวรีน (purine) สูงเหมือนในเนื้อต่าง ๆ ที่มีสีแดง ดังนั้น คนที่เป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน
- ปลาเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของวิตามิน เอ ดี และ บี
- ปลาเป็นแหล่งโปรตีน ที่สำคัญรองลงมาจากเนื้อสัตว์และไข่
- ปลาให้พลังงานน้อยกว่าเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะพวกเนื้อสันใน เนื้อไม่ติดมัน ยกเว้นปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาเฮอริ่ง ปลาสวาย
- ปลามีแร่ธาตุแคลเซียมต่ำ ยกเว้นในกรณีที่เราสามารถกินได้ทั้งตัว (กระดูกและเนื้อ)
- ปลามีปริมาณไขมันต่ำ (ยกเว้นในปลาที่มีไขมันสูงบางชนิดเท่านั้น) และไขมันในปลาส่วนมาก เป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งสามารถลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ และปริมาณโคเลสเตอรอลในเนื้อปลามีปริมาณต่ำ จึงนิยมนำไปใช้ในการรักษา และป้องกันโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด
- ปลาน้ำจืดเป็นแหล่งสะสมพยาธิ ถ้าจะกินควรกินสุก ไม่ใช่สุกดิบ ๆ หรือกินปลาดิบ ๆ เพราะปลามีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ
ภูนภาฟาร์ม ใส่ใจผู้บริโภคดุจคนในครอบครัว
– ภูนภาฟาร์ม
ไปที่ร้านค้า -> ภูนภาฟาร์ม
สำหรับท่านที่สนใจ สินค้า ของ ภูนภาฟาร์ม ติดต่อได้ที่
ภูนภาฟาร์ม
21/434 หมู่ 5 บ้านเอื้ออาทรโนนสมอ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000
Tel. : 093 825 9463, 093 426 6256
ID Line : vit4019
Link Line : https://line.me/ti/p/v6kONY9KAe
Face book : ภูนภาฟาร์ม
KCmart Online Team
ผลิตภัณฑ์จากชุมชน และผู้ผลิตในท้องถิ่น รวมตัวกันในนาม โคราช ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย (Korat Organic Claster) จำหน่ายสินค้าตรงสู่ผู้บริโภค