เอนไซม์ คืออะไร?
เอนไซม์จะมีอยู่มากมายหลายชนิด และอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ เช่น รวมอยู่กับผนังเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ ไรโบโซม และในไมโครบอดี้ส์ เป็นต้น โดยที่เอนไซม์แต่ละชนิดจะมีที่อยู่ที่แน่นอน ไม่รวมกับเอนไซม์ชนิดอื่น ๆ เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงจะอยู่ภายในคลอโรพลาสต์ เอนไซม์ที่ใช้ในการหายใจจะอยู่ในไมโตคอนเดรีย และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ DNA และ RNA จะอยู่ในนิวเคลียส
เอนไซม์หลายชนิดจะมีชื่อตามสารเริ่มต้น ลงท้ายด้วย -ase เช่น ฟอสฟาตส (Phosphatase) และ อะมัยเลส (Amylase) เป็นต้น แต่ก็มีเอนไซม์บางชนิดที่ชื่ออาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสารเริ่มต้น เช่น คะตาเลส(Catalase)
เอนไซม์ จะทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนของปฏิกิริยาต่างๆ ทางเมตาบอลิสม์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ (Product) ที่ได้อาจจะเปลี่ยนไปทันทีโดยเอนไซม์อีกชนิดหนึ่งก็ได้ เอนไซม์ประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนประกอบใหญ่ และอาจจะมีส่วนที่ไม่ใช่โปรตีนรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเอนไซม์จึงมีโครงสร้างย่อยเป็น กรดอะมิโน (Amino acid) หลายชนิดมาต่อกันเป็นลูกโซ่ยาวด้วยแขนที่เรียกว่าเพปไทด์ (Peptide bond) ส่วนประกอบที่ไม่ใช่โปรตีนของเอนไซม์อาจจะเป็นกลุ่มพรอสธีติค (Prosthetic Group) โคเอนไซม์ (Co-enzyme) และวิตามิน (Vitamin) ซึ่งมักรวมเรียกว่า โคแฟคเตอร์ (Cofactors)
เอนไซม์ หรือ enzyme คือ กลุ่มของโปรตีนที่มีหน้าที่พิเศษแตกต่างจากโปรตีนทั่วไป คือ มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในการสังเคราะห์องค์ประกอบภายในเซลล์ ระบบการย่อยอาหาร ฯลฯ
หน้าที่ของเอนไซม์
องค์ประกอบที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราได้แก่ น้ำ อากาศ และอาหาร อาหารจะถูกส่งเข้าไปเลี้ยงในร่างกายได้จะต้องอาศัยเอนไซม์ในการกระบวนการย่อยอาหาร และจะต้องอาศัยวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน สารไฟเตท ที่จำเป็นมาเป็นตัวประกอบสำคัญในการเสริมประสิทภาพการทำงานของเอนไซม์
ดร.เอ็ดเวิร์ด เฮาเวลล์ ได้กล่าวว่า ร่างกายของเรามีแหล่งพลังงานจาก เอนไซม์ (Enzyme)มาตั้งแต่แรกเกิด เปรียบเสมือนกับแบตเตอรี่ก้อนใหม่ที่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งแล้วแบตเตอรี่ดังกล่าวก็จะหมดอายุหรือหมดพลังไป ร่างกายของมนุษย์เราก็เช่นกัน เมื่อเราใช้แหล่งพลังงานเหล่านั้นจาก เอนไซม์ ( Enzyme )ไปมากเท่าไหร่ชีวิตของมนุษย์เราก็สั้นมากขึ้นเท่านั้น
เอนไซม์ (Enzyme) คือ สารประกอบอินทรีย์โปรตีน ที่มีหน้าที่เป็น คาตาลิสต์ (Catalyst) ที่ช่วยเร่งปฏิกริยาให้เกิดเร็วขึ้น สิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งของเอนไซม์ได้แก่พืช สัตว์ และจุลินทรีย์
เอนไซม์ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ
1. ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ
ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น คุณค่าทางด้านโภชนาการกลิ่นรส และเนื้อสัมผัส อุตสาหกรรมที่นำเอนไซม์ไปใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมสารซักฟอก อุตสาหกรรมฟอกหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยพบว่าอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เอนไซม์มากที่สุดอันดับ1 ส่วนอันดับ 2 คือ อุตสาหกรรมสารซักฟอก
2. ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาหรือเภสัชภัณฑ์
ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาหรือเภสัชภัณฑ์ เนื่องจากเภสัชภัณฑ์บางชนิดที่ผลิตโดยการเพาะเลี้ยงเซลล์แล้วนำมาสกัดให้ได้สารที่มีคุณสมบัติตามต้องการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเอนไซม์ใช้ในกระบวนการผลิต จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและขั้นตอนได้ เช่น การนำเอนไซม์เพนนิซิลลิน อะซิเลส (penicillin acylase) มาใช้ในการผลิตเพนนิซิลลินกึ่งสังเคราะห์
3. ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค
ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เช่น การนำแอสพาราจีเนส (asparaginase) มาใช้เป็นสารเคมีบำบัดในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือการใช้คอเลสเตอรอลเอสเทอเรส (Cholesterol esterase) ในการตรวจวัดหา ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
เอนไซม์ (Enzyme) เปรียบเสมือนกับสิ่งที่เป็นตัวจุดประกายของชีวิตในร่างกาย หมายความว่าถ้าหากร่างกายของเราไม่มีเอนไซม์ ร่างกายก็จะไม่สามารถย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ และในที่สุดก็ตายลง
เอนไซม์จึงเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี หรือตัวคะตะลิสต์ (Catalyst) ที่จำเพาะ ซึ่งจะทำงานร่วมกับโคเอนไซม์ (Coenzymes) โดยโคเอนไซม์ในที่นี้ก็คือพวกวิตามินและแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย และวิตามินและแร่ธาตุนั้นจะไม่สามารถกระตุ้นให้ทำงานได้หากไม่ได้ทำงานร่วมกับเอนไซม์
ในการทำงานของเอนไซม์ โครงสร้างของเอนไซม์ทั้งก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาจะยังคงเหมือนเดิม แสดงว่าเอนไซม์ไม่ได้ทำปฏิกิริยากับซับสเตรด แต่ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเอนไซม์จะจับตัวกับซับสเตรด ทำให้ซับสเตรดแปรสภาพไป โดยมีการสลายหรือสร้างพันธะของซับสเตรดขึ้นใหม่เกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาเคมี จากการรวมตัวระหว่างเอนไซม์กับซับสเตรด จนกลายเป็นเอนไซม์-ซับสเตรดคอมเพล็กซ์ (Enzyme-substrate complex)
มีสมมติฐานที่อธิบายกลไกของเอนไซม์ไว้ดังนี้
- สมมติฐานแม่กุญแจกับลูกกุญแจ ที่เอนไซม์จะเปรียบเสมือนเป็นลูกกุญแจ ส่วนซับสเตรดคือแม่กุญแจ ซึ่งจะเกิดการปลี่ยนแปลงเมื่อไขด้วยลูกกุญแจ โดยแม่กุญแจจะต้องมีรูปร่างที่พอเหมาะเท่านั้น ถึงจะรวมกับเอนไซม์และเกิดปฏิกิริยานกลายเป็นผลิตภัณฑ์ได้
- สมมติฐานการเหนี่ยวนำ แอคทีฟไซต์จะสามารถยืดหยุ่นและเปลี่ยนสภาพได้เมื่อซับสเตรดเข้าใกล้บริเวณแอคทีฟไซต์ของเอนไซม์ ซับสเตรดจะเหนี่ยวนำให้เอนไซม์เปลี่ยนโครงรูปบริเวณแอคทีฟไซต์ให้มีรูปร่างและขนาดพอเหมาะที่จะรวมกับซับสเตรดได้
เอนไซม์มีโครงสร้างทางเคมีเป็นสารประกอบจำพวกโปรตีน ซึ่งประกอบไปด้วย
- โพลีเปปไทด์ (Polypeptide) เพียงสายเดียว หรือหลายสายที่ม้วนกันเป็นก้อนกลม
- เอนไซม์บางชนิดมีสารประกอบอื่นที่ไม่ใช่โปรตีนรวมอยู่ด้วย เอนไซม์เหล่านี้เรียกว่า โฮโลเอนไซม์ (Holoenzyme)
- ถ้าสารประกอบนั้นเป็นไอออนของโลหะเรียกว่า โคแฟกเตอร์ (Cofactor)
- ถ้าเป็นสารประกอบอินทรีย์จะเรียกว่า โคเอนไซม์ (Coenzyme)
เอนไซม์แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง (Specific) โดยจะทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้น(Substrate) ที่เหมาะสมกันเท่านั้น เช่น เอนไซม์ชนิดย่อยไขมันจะไม่สามารถย่อยแป้งได้ และเอนไซม์ย่อยแป้งจะไม่ย่อยโปรตีน เป็นต้น
เอนไซม์จะยังคงสภาพเดิมทั้งคุณสมบัติและปริมาณ ภายหลังการเกิดปฏิกิริยาแล้ว กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา เอนไซม์จะกลับสู่สภาวะตั้งต้นเพื่อรอสารตั้งต้นตัวใหม่ เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น และเป็นตัวลดพลังงานกระตุ้น เอนไซม์มีความไวต่อปฏิกิริยามาก ปริมาณเอนไซม์เพียงเล็กน้อยก็สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ถ้าไม่มีเอนไซม์ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดจะเกิดขึ้นช้ามาก จนชีวิตไม่สามารถรอดอยู่ได้
เอนไซม์ คือกลุ่มโปรตีน (protein) ที่ผลิตโดยเซลล์สิ่งมีชีวิต พบได้ทั้งในพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ เช่น การสังเคราะห์องค์ประกอบภายในเซลล์ ระบบการย่อยอาหาร โดยย่อยสลายโมเลกุลของอาหารที่มีขนาดใหญ่ให้เล็กลง เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่
เอนไซม์อะไมเลส (amylase) ย่อยโมเลกุลของสตาร์ซ (starch) ให้เป็นน้ำตาล
เอนไซม์โปรติเอส (protease) ย่อยโปรตีน (protein) ให้เป็นกรดแอมิโน (amino acid)
เอนไซม์ไลเพส (lypase) ย่อยไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) ให้เป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid)
เอนไซม์ยูรีเอส (urease) ย่อยสลายยูเรียให้กลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย (กำจัดกลิ่น) เอนไซม์ทำงานโดยไปลดพลังงานกระตุ้น (activation energy) ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้ง่ายขึ้นโดยใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ หากไม่มีเอนไซม์จะต้องใช้พลังงานสูงกว่ามากจึงจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาได้
ผลิตภัณฑ์ บริษัท ไบโอเวย์ จำกัด สกัดเอนไซม์จากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ต่อยอดงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำเอนไซม์ที่ได้ไปทำผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มทำความสะอาด
- ทำความสะอาดภายในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ล้างห้องน้ำ ถูบ้าน เช็ดกระจก ล้างรถ ฯลฯ
- ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
- กลุ่มกำจัดกลิ่น
- กลิ่นอับในรถยนต์ ในห้องนอน ห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้า
- กลิ่นเหม็นจากอุจจาระ ปัสสาวะ กลิ่นเหม็นจากสัตว์เลี้ยง
บริษัท ไบโอเวย์ จำกัด เป็นหน่วยงานเอกชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ประกอบด้วยเอนไซม์ ไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย ไม่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในท่อหรือบ่อดักไขมัน มีปณิธานแนวแน่ว่า สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีสุข
ไปที่ร้านค้า -> Bioway
ผลิตภัณฑ์ Bioway สกัดเอนไซม์จากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นนวัตกรรมจากฝีมือนักวิจัยไทย ที่ได้รับการพิสูจน์คุณภาพและความพึงพอใจจากลูกค้ามายาวนานกว่า 10 ปี
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line ID : https://lin.ee/BAJDB0i
Tel. : 081-011-9993, 081-997-2204
Facebook : BiowayNature https://goo.gl/pthpfc
Ig : https://www.instagram.com/biowaynature2020
KCmart Online Team
ผลิตภัณฑ์จากชุมชน และผู้ผลิตในท้องถิ่น รวมตัวกันในนาม โคราช ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย (Korat Organic Claster) จำหน่ายสินค้าตรงสู่ผู้บริโภค